HASS.IO 1 - ทำไมมือใหม่ควรใช้ Home Assistant บน Raspberry Pi

HASS.IO 1 - ทำไมมือใหม่ควรใช้ Home Assistant บน Raspberry Pi

ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ได้ที่นี่ :

 

 

หลายๆ คนที่เคยใช้งานระบบ Smart home สำเร็จรูปมาก่อนก็จะทราบว่า สินค้าสมาร์ทโฮมแต่ละชิ้นก็จะมีเครื่องมือหรือแอพลิเคชันให้ใช้งานแตกต่างกัน ตามแต่ละยี่ห้อหรือรุ่นของสินค้า ทำให้ในบางครั้งด้วยความแตกต่างกันของยี่ห้อ ส่งผลให้เราต้องมีหลากหลายแอพพลิเคชันอยู่ในสมาร์ทโฟนของเรา ในการใช้งานระบบ Smart home ซึ่งไม่สะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้หากเป็นอุปกรณ์คนละค่ายหรือคนละยี่ห้อ ก็จะไม่สามารถทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อีก ซึ่งก็เป็นผลเสียต่อผู้ใช้งานที่ต้องเลือกใช้งานอุปกรณ์ผูกขาดเฉพาะบางยี่ห้อ เสียโอกาสที่จะได้เลือกใช้งานอุปกรณ์จากแบรนด์อื่นที่อาจมีประสิทธิภาพ หรือ คุณภาพที่สูงกว่า

 

 

นอกจากนี้ความสามารถในการปรับแต่งใช้งานของแต่ละแอพพลิเคชันนั้นก็มีความแตกต่างกัน บางแอพอาจจะปรับตั้งเวลาได้ในแค่ช่วงสัปดาห์เดียว บางแอพอาจสร้างรูปแบบการทำงานอย่างอัตโนมัติของแต่ละอุปกรณ์ได้ไม่ซับซ้อนพอกับความต้องการของผู้ใช้งาน หรือบางอุปกรณ์ที่มีความสามารถพิเศษบางอย่างที่ไม่สามารถใช้งานจากในแอพพลิเคชันของผู้ผลิตได้

 

 

อุปกรณ์บางชิ้นต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อสื่อสารกับ Server ตลอดเวลา ทำให้เมื่ออินเตอร์เน็ตมีปัญหา อุปกรณ์ชิ้นนั้นก็จะไม่สามารถใช้งานได้ทันที

 

 

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ Home Assistant จะเข้ามาทำให้เรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องง่ายๆเลย laugh

ด้วยความที่ Home Assistant เป็น Open source smart home platform ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ร่วมพัฒนาและปรับแต่งให้ตัว Platform มีความสามารถที่หลากหลายและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีนักพัฒนาจำนวนมากได้เข้ามาช่วยกันสร้างให้ Home Assistant มีความสามารถในการรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยไม่คำนึงถึงยี่ห้อ ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถรวมเอาอุปกรณ์ทุกชิ้นเข้ามาไว้ใน Platform เพียง Platform เดียวได้  

 

 

ซึ่งจากการที่ทุกอุปกรณ์สามารถเข้ามารวมอยู่ใน Platform เดียวได้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงยี่ห้อของอุปกรณ์ด้วย ยี่ห้อไหนๆก็สามารถทำงานร่วมกันได้

 

 

ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งหน้าตา User Interface ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นให้ตรงกับความต้องการได้ โดยอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถควบคุมได้จากแอพพลิเคชันเดียว

 

 

ด้วยความที่ Home Assistant เป็น Local platform ที่ผู้ใช้งานสามารถตั้ง server เพื่อรันใช้งานเองได้ ส่งผลให้เมื่ออุปกรณ์ใดที่ได้มาเชื่อมต่ออยู่กับ Home Assistant แล้ว ก็จะยังสามาถใช้งานได้แม้ไม่มีอินเตอร์เน็ต ช่วยเพิ่มความเสถียรของระบบสมาร์ทโฮมได้เป็นอย่างดี

 

 

 

ทำไมมือใหม่ควรใช้งาน Home Assistant บน Raspberry Pi

หลายคนที่อาจเคยศีกษาเรื่อง Home Assistant มาบ้างก็อาจจะทราบว่าตัว Home Assistant นั้นสามารถที่จะติดตั้งได้บนหลากหลายอุปกรณ์ ไม่จำเป็นต้องเป็น Raspberry Pi เพียงอย่างเดียว อาจเป็นคอมพิวเตอร์ที่คุณมีอยู่แล้ว โน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้ กล่อง Android box หรือ อุปกรณ์อื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน แต่ว่าทำไมต้องเป็น Raspberry Pi ล่ะ

 

คอมพิวเตอร์เครื่องเก่าในบ้านที่อาจสามารถนำมาติดตั้งใช้งาน Home Assistant ได้

 

Raspberry Pi เป็น Single Board Computer ที่ทุกบอร์ดมีส่วนประกอบเหมือนกันหมด นั่นหมายความว่า ผู้คนที่ใช้งาน Raspberry Pi ในการรันตัว Home Assistant ทั่วโลกนั้นก็จะมีประสบการณ์ที่เหมือนกัน บางคนอาจเจอปัญหาในส่วนซอฟต์แวร์ตัวนี้ ตัวนั้น ที่ Home Assistant มีปัญหาบน Raspberry Pi มีการพูดคุยกันบน Forum ต่างๆ คนที่พบวิธีแก้ไขปัญหาก็จะมาช่วยกันตอบไว้ กลายเป็นอีกหนึ่ง Community ที่กว้างขวาง ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเข้ามาเริ่มต้นในการทำ DIY smart home ด้วย platform ตัวนี้ เพราะเมื่อคุณพบปัญหา คุณ Google ดู โอกาสที่คุณจะพบคำตอบของปัญหานั้นก็จะมีมากกว่า ในทางกลับกัน ถ้าคุณเลือกที่จะไปรัน Home Assistant บนอุปกรณ์ที่แรงกว่า Raspberry Pi แต่ถ้ามีผู้ใช้งานอุปกรณ์เหมือนหรือคล้ายกันกับอุปกรณ์แบบคุณน้อย เวลาคุณพบกับปัญหา โอกาสที่คุณจะพบกับคำตอบของปัญหานั้นก็จะน้อยกว่า

 

 

ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วครับว่า จะเลือกทางไหน ส่วนตัวผมเองนั้น ขอแนะนำว่า ถ้าเป็นมือใหม่ เริ่มต้นกับ Raspberry Pi คือคำตอบสำหรับคุณครับ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณมีความเชี่ยวชาญในการใช้งาน Home Assistant แล้ว ค่อยมาเปลี่ยนเป็นการรัน Home Assistant บนอุปกรณ์ตัวอื่นก็ยังไม่สายครับ

สำหรับการเริ่มต้นใช้งาน Home Assistant บน Raspberry Pi นั้น อุปกรณ์ที่เราจำเป็นต้องมีนั้นคือ บอร์ด Raspberry Pi, microSD card, เคสสำหรับติดตั้งตัวบอร์ด และ อแดปเตอร์จ่ายไฟสำหรับตัวบอร์ด

โดยทาง Cytron Thailand ได้มีการจัดเตรียมชุดอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน Home Assistant ไว้ให้แล้ว โดยเลือกเป็นบอร์ด Raspberry Pi 4 Model B RAM 2 GB ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน Home Assistant ได้อย่างไม่มีปัญหา, เคส Argon One V2 พร้อม M.2 SSD adapter ซึ่งเป็นเคสที่ออกแบบมาเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับการติดตั้งใช้งานตัวบอร์ด Raspberry Pi ในระยะยาว พร้อมทั้งมี Interface บนตัวบอร์ดที่หลากหลาย ง่ายต่อการเชื่อมต่อ, M.2 SSD SATA Makerdisk ขนาด 128GB เพียงพอต่อการติดตั้ง Home Assistant บนตัวบอร์ด และ Power adapter สำหรับการจ่ายไฟให้ตัวบอร์ด

 

 

โดยในการติตดั้งใช้งาน Home Assistant ครั้งนี้ เราจะเลือกติดตั้งใช้งานบน M.2 SSD แทนที่การติดตั้งใช้งานบน microSD card แบบทั่วๆไป เนื่องจาก SSD นั้นมีรอบการอ่านเขียนที่มากกว่า microSD card เป็นอย่างมาก ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตจากการเสื่อมสภาพของ microSD card

 

 

และถ้าใครที่ยังไม่มีก็สามารถเข้าไปสั่งซื้อชุดอุปกรณ์สำหรับสร้างเซิฟเวอร์ Home Assistant จาก Cytron ได้แล้ว โดยคลิก ที่นี่ 


โดยในบทความถัดไป เราจะมาเรียนรู้วิธีการติดตั้งเซิฟเวอร์ Home Assistant บน Raspberry Pi ไปพร้อมๆกัน รับรองว่าไม่ยาก มือใหม่ หรือใครที่ไม่เคยใช้งาน Raspberry Pi มาก่อนก็สามารถทำได้แน่นอน 

บทความถัดไป : HASS.IO EP.2 เตรียมบอร์ด ติดตั้ง HOME ASSISTANT บน PI 4 (SSD)

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์


โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

HASS.IO 2 - เตรียมบอร์ด ติดตั้ง Home Assistant บน Pi 4 (SSD)

HASS.IO 2 - เตรียมบอร์ด ติดตั้ง Home Assistant บน Pi 4 (SSD)

เรียนรู้ขั้นตอนการติดตั้ง Home Assistant บน Raspberry Pi 4 Model B โดยใช้การเก็บข้อมูลทั้งหมดบน SSD ที่จะทำให้เซิฟเวอร์ของเรานั้น เร็ว แรง ทน กว่าเดิมแน่นอน!..
Raspberry Pi 4 Model B vs Nvidia Jetson ใช้อะไรดีนะ?

Raspberry Pi 4 Model B vs Nvidia Jetson ใช้อะไรดีนะ?

หากคุณกำลังมีแผนที่จะใช้งาน Single Board Computer ชื่อบอร์ด Nvidia Jetson และ Raspberry Pi น่าจะเคยผ่านหูคุณมาบ้างนะ ว่าแต่จะใช้บอร์ดตัวไหนดีล่ะ ลองมาอ่านบทความ..