ลักษณะการใช้งาน Raspberry Pi ยอดนิยมในภาคอุตสาหกรรม

ลักษณะการใช้งาน Raspberry Pi ยอดนิยมในภาคอุตสาหกรรม

บอร์ด Raspberry Pi ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในการนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน หลากหลายบริษัทได้เลือกใช้งาน Single Board Computer สำหรับงานหลากหลายรูปแบบ  ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะลองมาดูกันว่าในโลกของความเป็นจริงของภาคอุตสาหกรรมนั้น ได้มีการนำบอร์ด Raspberry Pi ไปใช้ทำอะไรบ้าง และเข้าใจถึงเหตุผลว่าทำไมบอร์ด Raspberry Pi ถึงได้รับความนิยมในการนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม

 

ระบบอัตโนมัติ (Automation and Control): ตัวบอร์ด Raspberry Pi มาพร้อมกับ 26 x GPIO, 1 x UART, 1 x I2C และ 1 x SPI ทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้งานกับอินเตอร์เฟส I/O ด้านอุตสหกรรมได้อย่างหลากหลาย อาทิ เซนเซอร์, สวิตช์, รีเลย์  เป็นต้น โดยเมื่อคุณสามารถเชื่อมต่ออุปกณณ์เหล่านั้นได้แล้ว คุณก็จะสามารถโปรแกรมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดจนกลายเป็นระบบอัตโนมัติได้ นอกจากนี้ตัวบอร์ดยังสามารถเชื่อมต่อกล้องผ่านทาง CSI อินเตอร์เฟสบนตัวบอร์ด สำหรับการรับข้อมูลในรูปแบบของภาพ

 

IoT Gateways: ความสามารถในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi แบบ dual-band (2.4GHz and 5GHz), Bluetooth 5.0 และ Bluetooth BLE ทำให้  Raspberry Pi สามารถทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับส่งผ่านข้อมูลของอุปกรณ์ IoT ได้ ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลจากเซนเซอร์ เพื่อส่งไปวิเคราะห์ที่ระบบคลาวด์ หรือควบคุมอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับ Raspberry Pi ผ่านระยะไกลได้

 

Data Logging: Raspberry Pi เป็น single-board computer ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Raspberry Pi OS (Linux-based OS) นั่นหมายความว่า คุณสามารถที่จะติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เหมือนที่คุณใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป โดยหนึ่งในนั้น คือโปรแกรมสำหรับการจัดเก็บข้อมูล คุณสามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม ค่าตัวแปรการทำงานต่างๆของเครื่องจักร หรือการใช้พลังงานของเครื่องจักร ในรูปแบบของไฟล์ CSV หรือไฟล์รูปแบบใดๆก็ได้ตามที่คุณต้องการ

 

ระบบรักษาความปลอดภัย (Security Systems): คุณสามารถที่จะทำ image filtering, feature detection, object recognition, camera calibration และความสามารถด้านการประมวลผลภาพอื่นๆอีกมากมาย โดยใช้ไลบรารี่โอเพนซอร์สที่สามารถใช้งานได้ฟรีอย่าง  OpenCV, SimpleCV และ Computer Vision Framework โดยส่วนมากก็จะสามารถใช้งานกับ Raspberry Pi OS ได้ทั้งหมด ทำให้ Raspberry Pi ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานในด้านการรักษาความปลอดภัย

 

ป้ายดิจิตอล (Digital Signage): ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณาดิจิตอล, จอภาพแบบสัมผัสสำหรับเครื่อง Kiosk, จอภาพแสดงเป้าหมายการทำงานที่ติดตั้งอยู่ที่หน้างาน Raspberry Pi ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สำคัญสำหรับงานในลักษณะนี้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ 3 ข้อ คือ ขนาดเล็ก, ราคาถูก และ เชื่อถือได้

 

โดยทั่วไปแล้ว บอร์ด Raspberry Pi ถือเป็น Single Board Computer ที่ทรงพลัง มีขนาดเล็ก และราคาถูก ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการทำงานต่างๆใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ทั้วๆไป แต่ราคาแตกต่างกันมากถึง 20-50% นอกจากนี้ ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นมิตรกับซอฟต์แวร์ หรือ แอพพลิเคชันแบบโอเพนซอร์ส ทำให้มีความยืดหยุ่นสำหรับผู้ใช้งานในการเลือกใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ สามารถใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เป็น 3rd party ได้โดยไม่มีปัญหากับการทำงานของซอฟต์แวร์หรือระบบ  แตกต่างจากระบบแบบดั้งเดิม ที่ต้องมีการใช้งานทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จากผู้ให้บริการ ซึ่งมีราคาสูงกว่ามาก 

 

และเนื่องจากการที่มีบริษัทจำนวนมากขึ้น ที่ต้องการสร้างโรงงานอัจฉริยะและนำเทคโนโลยี Industry 4.0 มาใช้ ทำให้ Raspberry Pi นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการสร้างระบบในงานอุตสาหกรรม  ด้วยซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สและกลุ่มผู้ใช้งานที่หว้างขวาง ทำให้ Raspberry Pi ถือเป็นหนึ่งในกุญแจที่สำคัญสำหรับอนาคตของระบบควบคุมอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม

 

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาระบบโดยใช้ Raspberry Pi ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ก็ยังมีอุปสรรคอยู่บ้าง สำหรับในบทความถัดไป เราจะลองมาดูกันว่าอุปสรรคเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และวิธีการแก้ปัญหาของเราที่จะทำให้การทำงานของคุณนั้นง่ายขึ้น ลองมาคอมเมนต์แบ่งปัน ปัญหา อุปสรรคที่คุณพบในการใช้งาน Raspberry Pi กับระบบของคุณให้พวกเราทราบได้เลยนะครับ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง


โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

9 เหตุผลที่ภาคอุตสาหกรรมเริ่มต้นใช้งาน Raspberry Pi

9 เหตุผลที่ภาคอุตสาหกรรมเริ่มต้นใช้งาน Raspberry Pi

ทำไม Raspberry Pi 4 ถึงถูกนิยมนำไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรม ลองมาดูกัน!..
ความท้าทายในการใช้งาน Pi 4 ในโปรเจ็กต์ด้านอุตสาหกรรมและวิธีการแก้ไข

ความท้าทายในการใช้งาน Pi 4 ในโปรเจ็กต์ด้านอุตสาหกรรมและวิธีการแก้ไข

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่า Raspberry Pi ไม่เหมาะสำหรับโปรเจ็กต์ด้านอุตสาหกรรม เพียงแต่เราต้องการชี้ให้เห็นว่าการเริ่มต้นโปรเจ็กต์ด้านอุตสาหกรรมจากบอร์ด Pi 4 ทั่วๆไปเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สะดวกอ..
การเปลี่ยนแปลงของ Raspberry Pi จากภาคการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลงของ Raspberry Pi จากภาคการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม

บทความนี้เราจะมาค้นหากันว่า Raspberry Pi พัฒนาจากเครื่องมือสำหรับมือสมัครเล่นไปสู่ทรัพยากรอันมีค่าในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างไร..